อยากเขียนเชิงให้ความรู้คนที่จะทำตกแต่งภายในบ้านตัวเอง (สามารถประยุกต์เข้ากับการตกแต่งภายในอื่นๆได้) แต่ตั้งแต่กลับมาทำงานที่บ้านได้ 2 ปีกว่ามองว่า มันมีอีกหลายจุดที่เรามองว่าอาจจะลำบากสำหรับลูกค้ากับการตัดสินใจทำตกแต่งภายใน มีประมาณ 7 ข้อหลักๆที่เรามองว่าผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจทำนะ
1. งานตกแต่งภายในคืองานแฮนด์เมด
มันคือการใช้มือคนทำประดิษฐ์ชิ้นงานตามผู้ว่าจ้างสั่ง ปัญหาที่เจอบ่อยๆระหว่างทำชิ้นงานคือ ลูกค้ามักจะถามว่าทำไมตรงนี้มันไม่เป๊ะๆๆๆแบบ 0.3 มม. เอาจริงๆ ไม่ได้อ้างแต่มันมือคนทำ เช่น ตอนทำขนมโฮมเมดปั้นหน้าตุ๊กตาหมีสองตัวมือคนปั้น หมีมันคงหน้าตาไม่เหมือนกัน 100% อยู่แล้ว ฟีลเดียวกับงานตกแต่ง และอีกตอนคือตอนดีเฟ็ค ไม่ใช่บอกว่าผู้รับจ้างยอมรับดีเฟ็คไม่ได้ คือยืนยันว่าถ้าเจ้าของบ้านไม่พอใจคือยังไงก็ต้องแก้ให้ดีสุด แต่ระหว่างดีเฟ็คเจ้าของบ้านต้องทำความเข้าใจสภาพหน้างานด้วยว่า งานชิ้นนี้มีแก้หน้างานรึเปล่า หรือเหตุผลอื่นใดๆที่ไม่สามารถทำให้เป๊ะได้ ส่วนอื่นก็คือต้องแก้ให้ดีที่สุดจนผ่าน ปล. แต่การจะบอกว่างานไม่เรียบร้อย เละเทะมาก ก็ควรคอมเม้นบนพื้นฐานความจริงนะ ไม่ใช่คอมเม้นด้วยอารมณ์ เดี๋ยวกลายเป็นวาทะศิลป์แล้วจะมีปัญหากันไป
2. งานทำสี (เฉพาะเฟอร์นิเจอร์)
ก่อนจะอธิบายเรื่องงานสี ต้องขออนุญาตชี้แจงขั้นตอนการทำงานสีก่อน
ขั้นตอนการทำงานสี
2.1 ลงแป้งดินสอพอง เมื่อดินสอพองแห้งขัดเรียบ
2.2 ลงแชลคกันยางไม้
2.3 พ่นสีรองพื้น
2.4 เมื่อสีแห้งแล้วขัดกระดาษทราย
2.5 ลงโป๊วแดง
2.6 เมื่อแห้งแล้วขัดให้เรียบ
2.7 ลงสีพ่นอุตสหากรรมรองพื้น 2 ครั้ง
2.8 ขัดให้เรียบ
2.9 ลงสีจริง 3 ครั้ง
2.10 ขัดให้เรียบ
2.11 เก็บรอยด้วยโป๊วไม้ชนิดเนื้อละเอียด
2.12 พ่นเก็บงานครั้งสุดท้าย
เยอะและละเอียดค่ะ กว่างานสีจะเสร็จไม่ใช่ทาสองรอบหรือพ่นสองรอบจบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะมีคำถามว่าทำไมทำนาน งานสีเวลาดีเฟ็คพูดกันตรงๆส่วนใหญ่ (อันนี้ไม่ได้บอกว่าทุกกรณีนะคะ อ้างอิงจากประสบการณ์เฉยๆ) ดีเฟ็คกันด้วยความชอบและการตัดสินใจของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ว่าตรงนี้โอเคไม่โอเค ซึ่งส่วนตัวในฐานะผู้รับจ้าง มองว่าลูกค้าทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะดีเฟ็คอย่างเต็มที่ แต่บนบรรทัดฐานของการดีเฟ็คก็ต้องมีความเข้าใจในสภาพงานและเข้าใจว่าขั้นตอนการทำสีเป็นอย่างไร เพราะงานสีก็มือคนทำเหมือนกัน
3. ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
อันนี้เป็นประเด็นโลกแตกมาก ซึ่งเราไม่เคยมองว่าลูกค้าผิดเลย ถ้าลูกค้าจะบี้เรื่องเวลาการทำงานเพราะรีบเข้าอยู่ แต่การบี้ก็ต้องบี้อย่างสมเหตุ สมผล เช่น ถ้าผู้รับจ้างช้า ถ้าผู้รับจ้างไร้เหตุผลอันนี้ก็สมควรจะโดนบี้ 55555 แต่ถ้าสมมุติว่าช้าโดยมีเหตุผลอื่นๆมาประกอบอาทิเช่น
- ผู้เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตาม timeline
- งานจากช่างอีกทีม มากระทบอีกทีม มันก็จะกระทบเป็นโดมิโน่เป็นทอดๆ
- มีการสั่งแก้ไขหน้างาน เพราะเปลี่ยนใจ
- เข้าพื้นที่ไม่ได้กระทัน
- มีงานเพิ่มเติม
- งานแบบไม่ละเอียด (ต้องมาบรีฟกันหน้างานอีกที)
- แก้ไขหลังส่งงานแล้ว (ตารางช่างมันวนค่ะ เค้าต้องวนไปที่อื่นจนลูปงานเค้าจบก่อน จึงกลับมาแก้ต่อได้)
ก็ทำความเข้าใจกันเป็นกรณีไป
4. การจ้างดีไซน์เนอร์จำเป็นไหม
ส่วนตัวคิดว่าเป็นผลดีสำหรับทุกฝ่ายมากกว่าค่ะ คุณมีมืออาชีพดูแล สเป็คของไม่บิดเบือน สวยได้อย่างที่อยากจะให้สวย แล้วก็ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังว่าบ้านจะออกมาสวยหรือไม่สวย ผู้รับจ้างทำงานตามแบบสะดวกสบายค่ะ ปล. แบบที่ดีต้องเขียนละเอียดชัดเจนด้วยนะคะ ไม่มีการแก้อยู่ตลอดเวลา
5. การวางแผนการเงินสำหรับตกแต่ง
คิดว่าข้อ 5 ถ้าพิมพ์ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเจตนาผิดได้ง่าย ถ้าใครอยากทราบก็หลังไมค์มาได้ค่ะ เดี๋ยวชี้แจงให้
6. เหตุสุดวิสัย
ในประเทศไทยต้องยอมรับว่าบุคลาการช่าง ไม่ใช่อาชีพหาง่าย และ คุยง่ายถ้าใครจะมีประสบการณ์ในการตกแต่งบ้านของตัวเอง น่าจะพอทราบว่าเป็นยังไง สมมุติคุณใช้งานช่างผู้แสนดีคนนี้ 10 ครั้ง ไม่ได้แปลว่าครั้งที่ 11 จะไม่เกิดปัญหา (แต่ไม่ได้บอกว่าทุกคนเป็นแบบนี้นะคะ ช่างดีๆก็มีมากมายค่ะ) เพราะฉะนั้นเราจะมีสัญญาข้อนึงระบุให้ลูกค้าเสมอว่า ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยกรณี "ช่างมีปัญหา" ขึ้นมาซึ่งมันอาจจะกระทบกับเวลาทำงาน เราจะชดใช้ให้ตามความเหมาะสมทั้งหมด โดยไม่รวมกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นจากภายนอก เราไม่สามารถเร่งงานได้ แต่เราจะรับผิดชอบจนนาทีสุดท้ายโดยไม่ทิ้งงานแน่นอนค่ะ
7. การดีเฟ็ค
ความเครียดเกิดขึ้นก็ช่วงดีเฟ็ค ทุกคนอยากได้สิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองโดยเฉพาะเป็นที่พักอาศัย เพราะเราอยู่เองถูกมั้ยคะ การดีเฟ็คเราสามารถทำได้เต็มที่เพราะเราเป็นเจ้าของเงิน แต่ส่วนตัวในฐานะผู้รับจ้างมองว่า จะพาใครมาดีเฟ็คดูด้วยว่าเค้ารู้จริงรึเปล่า เค้ามีความรู้จริงมั้ย คิดว่าจำเป็นนะคะว่าผู้ดีเฟ็คต้องมีความรู้ จะดีเฟ็ค ต้องชี้แจงกันเป็นจุดๆว่าอันไหนได้ไม่ได้ (ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง) หรือ คิดเห็นว่าอย่างไร ไม่อย่างนั้นงานจะไม่จบค่ะอยากเขียนเชิงให้ความรู้คนที่จะทำตกแต่งภายในบ้านตัวเอง (สามารถประยุกต์เข้ากับการตกแต่งภายในอื่นๆได้) แต่ตั้งแต่กลับมาทำงานที่บ้านได้ 2 ปีกว่ามองว่า มันมีอีกหลายจุดที่เรามองว่าอาจจะลำบากสำหรับลูกค้ากับการตัดสินใจทำตกแต่งภายใน มีประมาณ 7 ข้อหลักๆที่เรามองว่าผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจทำนะ
1. งานตกแต่งภายในคืองานแฮนด์เมด
มันคือการใช้มือคนทำประดิษฐ์ชิ้นงานตามผู้ว่าจ้างสั่ง ปัญหาที่เจอบ่อยๆระหว่างทำชิ้นงานคือ ลูกค้ามักจะถามว่าทำไมตรงนี้มันไม่เป๊ะๆๆๆแบบ 0.3 มม. เอาจริงๆ ไม่ได้อ้างแต่มันมือคนทำ เช่น ตอนทำขนมโฮมเมดปั้นหน้าตุ๊กตาหมีสองตัวมือคนปั้น หมีมันคงหน้าตาไม่เหมือนกัน 100% อยู่แล้ว ฟีลเดียวกับงานตกแต่ง และอีกตอนคือตอนดีเฟ็ค ไม่ใช่บอกว่าผู้รับจ้างยอมรับดีเฟ็คไม่ได้ คือยืนยันว่าถ้าเจ้าของบ้านไม่พอใจคือยังไงก็ต้องแก้ให้ดีสุด แต่ระหว่างดีเฟ็คเจ้าของบ้านต้องทำความเข้าใจสภาพหน้างานด้วยว่า งานชิ้นนี้มีแก้หน้างานรึเปล่า หรือเหตุผลอื่นใดๆที่ไม่สามารถทำให้เป๊ะได้ ส่วนอื่นก็คือต้องแก้ให้ดีที่สุดจนผ่าน ปล. แต่การจะบอกว่างานไม่เรียบร้อย เละเทะมาก ก็ควรคอมเม้นบนพื้นฐานความจริงนะ ไม่ใช่คอมเม้นด้วยอารมณ์ เดี๋ยวกลายเป็นวาทะศิลป์แล้วจะมีปัญหากันไป
2. งานทำสี (เฉพาะเฟอร์นิเจอร์)
ก่อนจะอธิบายเรื่องงานสี ต้องขออนุญาตชี้แจงขั้นตอนการทำงานสีก่อน
ขั้นตอนการทำงานสี
2.1 ลงแป้งดินสอพอง เมื่อดินสอพองแห้งขัดเรียบ
2.2 ลงแชลคกันยางไม้
2.3 พ่นสีรองพื้น
2.4 เมื่อสีแห้งแล้วขัดกระดาษทราย
2.5 ลงโป๊วแดง
2.6 เมื่อแห้งแล้วขัดให้เรียบ
2.7 ลงสีพ่นอุตสหากรรมรองพื้น 2 ครั้ง
2.8 ขัดให้เรียบ
2.9 ลงสีจริง 3 ครั้ง
2.10 ขัดให้เรียบ
2.11 เก็บรอยด้วยโป๊วไม้ชนิดเนื้อละเอียด
2.12 พ่นเก็บงานครั้งสุดท้าย
เยอะและละเอียดค่ะ กว่างานสีจะเสร็จไม่ใช่ทาสองรอบหรือพ่นสองรอบจบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะมีคำถามว่าทำไมทำนาน งานสีเวลาดีเฟ็คพูดกันตรงๆส่วนใหญ่ (อันนี้ไม่ได้บอกว่าทุกกรณีนะคะ อ้างอิงจากประสบการณ์เฉยๆ) ดีเฟ็คกันด้วยความชอบและการตัดสินใจของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ว่าตรงนี้โอเคไม่โอเค ซึ่งส่วนตัวในฐานะผู้รับจ้าง มองว่าลูกค้าทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะดีเฟ็คอย่างเต็มที่ แต่บนบรรทัดฐานของการดีเฟ็คก็ต้องมีความเข้าใจในสภาพงานและเข้าใจว่าขั้นตอนการทำสีเป็นอย่างไร เพราะงานสีก็มือคนทำเหมือนกัน
3. ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
อันนี้เป็นประเด็นโลกแตกมาก ซึ่งเราไม่เคยมองว่าลูกค้าผิดเลย ถ้าลูกค้าจะบี้เรื่องเวลาการทำงานเพราะรีบเข้าอยู่ แต่การบี้ก็ต้องบี้อย่างสมเหตุ สมผล เช่น ถ้าผู้รับจ้างช้า ถ้าผู้รับจ้างไร้เหตุผลอันนี้ก็สมควรจะโดนบี้ 55555 แต่ถ้าสมมุติว่าช้าโดยมีเหตุผลอื่นๆมาประกอบอาทิเช่น
- ผู้เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตาม timeline
- งานจากช่างอีกทีม มากระทบอีกทีม มันก็จะกระทบเป็นโดมิโน่เป็นทอดๆ
- มีการสั่งแก้ไขหน้างาน เพราะเปลี่ยนใจ
- เข้าพื้นที่ไม่ได้กระทัน
- มีงานเพิ่มเติม
- งานแบบไม่ละเอียด (ต้องมาบรีฟกันหน้างานอีกที)
- แก้ไขหลังส่งงานแล้ว (ตารางช่างมันวนค่ะ เค้าต้องวนไปที่อื่นจนลูปงานเค้าจบก่อน จึงกลับมาแก้ต่อได้)
ก็ทำความเข้าใจกันเป็นกรณีไป
4. การจ้างดีไซน์เนอร์จำเป็นไหม
ส่วนตัวคิดว่าเป็นผลดีสำหรับทุกฝ่ายมากกว่าค่ะ คุณมีมืออาชีพดูแล สเป็คของไม่บิดเบือน สวยได้อย่างที่อยากจะให้สวย แล้วก็ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังว่าบ้านจะออกมาสวยหรือไม่สวย ผู้รับจ้างทำงานตามแบบสะดวกสบายค่ะ ปล. แบบที่ดีต้องเขียนละเอียดชัดเจนด้วยนะคะ ไม่มีการแก้อยู่ตลอดเวลา
5. การวางแผนการเงินสำหรับตกแต่ง
คิดว่าข้อ 5 ถ้าพิมพ์ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเจตนาผิดได้ง่าย ถ้าใครอยากทราบก็หลังไมค์มาได้ค่ะ เดี๋ยวชี้แจงให้
6. เหตุสุดวิสัย
ในประเทศไทยต้องยอมรับว่าบุคลาการช่าง ไม่ใช่อาชีพหาง่าย และ คุยง่ายถ้าใครจะมีประสบการณ์ในการตกแต่งบ้านของตัวเอง น่าจะพอทราบว่าเป็นยังไง สมมุติคุณใช้งานช่างผู้แสนดีคนนี้ 10 ครั้ง ไม่ได้แปลว่าครั้งที่ 11 จะไม่เกิดปัญหา (แต่ไม่ได้บอกว่าทุกคนเป็นแบบนี้นะคะ ช่างดีๆก็มีมากมายค่ะ) เพราะฉะนั้นเราจะมีสัญญาข้อนึงระบุให้ลูกค้าเสมอว่า ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยกรณี "ช่างมีปัญหา" ขึ้นมาซึ่งมันอาจจะกระทบกับเวลาทำงาน เราจะชดใช้ให้ตามความเหมาะสมทั้งหมด โดยไม่รวมกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นจากภายนอก เราไม่สามารถเร่งงานได้ แต่เราจะรับผิดชอบจนนาทีสุดท้ายโดยไม่ทิ้งงานแน่นอนค่ะ
7. การดีเฟ็ค
ความเครียดเกิดขึ้นก็ช่วงดีเฟ็ค ทุกคนอยากได้สิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองโดยเฉพาะเป็นที่พักอาศัย เพราะเราอยู่เองถูกมั้ยคะ การดีเฟ็คเราสามารถทำได้เต็มที่เพราะเราเป็นเจ้าของเงิน แต่ส่วนตัวในฐานะผู้รับจ้างมองว่า จะพาใครมาดีเฟ็คดูด้วยว่าเค้ารู้จริงรึเปล่า เค้ามีความรู้จริงมั้ย คิดว่าจำเป็นนะคะว่าผู้ดีเฟ็คต้องมีความรู้ จะดีเฟ็ค ต้องชี้แจงกันเป็นจุดๆว่าอันไหนได้ไม่ได้ (ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง) หรือ คิดเห็นว่าอย่างไร ไม่อย่างนั้นงานจะไม่จบค่ะ
Comments